วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำไมเมื่อเราป่วยถึงมีอาการไอ


ทำไมเมื่อเราป่วยถึงมีอาการไอ
 เวลาคนเราไม่สบายทำไมถึง ไอ เคยสงสัยกันบ้างรึเปล่าครับ
กลไกการเกิดอาการไอ
                อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจและเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ รวมทั้งเป็นอาการที่นำสัตว์ป่วยมาสถานพยาบาลสัตว์ได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้อาการไอยังเป็นทางที่สำคัญในการแพร่กระจายของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
                                                                                         อาการไอเริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอหรือมีสารระคายเคืองในบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ได้แก่ ช่องหูและเยื่อบุแก้วหู,จมูก, โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส, โพรงหลังจมูก, คอหอย, กล่องเสียง, หลอดลม, ปอด, กระบังลม และเยื่อหุ้มปอด นอกจากนี้ยังพบตัวรับสัญญาณการไอบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจและกระเพาะอาหารด้วย โดยจะรับการกระตุ้นผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เป็นหลัก ไปยังศูนย์ควบคุมการไอ (cough center) ในสมองบริเวณเมดุลลา ซึ่งจะมีการควบคุมลงมายังกล้ามเนื้อและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อกระบังลม, กล้ามเนื้อซี่โครง, กล้ามเนื้อท้อง กล่องเสียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลอดลม ทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอ
ชนิดของอาการไอ
ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.ไอฉับพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด, โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน, คอหรือกล่องเสียงอักเสบ, หลอดลมอักเสบ, อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง, ปอดอักเสบ, การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส และ มลพิษทางอากาศ
2. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง, สัตว์กินยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ, โรคหืด, โรคกรดไหลย้อน [gastroesophageal reflux (GERD)], การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง, เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม, โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ, โรควัณโรคปอด สัตว์ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง บางตัวอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ
ผลเสียของอาการไอ
                การที่ไอมากๆ อาจทำให้เป็นที่รำคาญของท่านผู้ฟังหรือรบกวนเพื่อนบ้าน และยังอาจแพร่เชื้อให้ท่านผู้ฟังหรือสัตว์ตัวอื่นๆได้ครับ นอกจากนั้นอาจรบกวนการกินอาหารหรือรบกวนการนอนหลับ ในกรณีที่สัตว์ป่วยอายุมาก การไอมากๆ อาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหักได้ (rib fracture) หรือทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก ออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax or hemothorax) เกิดอาการหอบเหนื่อยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้มีผลเสียต่อการผ่าตัดตา และหู เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การไอ อาจทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ไปในลูกตาหลุดออกได้
การปฏิบัติต่อสัตว์ป่วยที่มีอาการไอ
                ท่านผู้ฟังควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้สัตว์ของท่านผู้ฟังไอมากขึ้นครับ เช่น สารเคมี ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ สารก่ออาการระคายเคือง อากาศเย็นๆ โดยเฉพาะแอร์หรือพัดลมเป่า การดื่มหรืออาบน้ำเย็น การรับประทานไอศกรีม หรืออาหารที่ระคายคอ เช่น อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ถ้าต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศ ควรตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียสเพื่อไม่ให้อากาศเย็นจนเกินไป ในกรณีที่ใช้พัดลม ไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมทำให้หลอดลมหดตัวทำให้สัตว์มีอาการไอมากขึ้นได้ ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายสัตว์ให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนในบริเวณที่มีสิ่งรองนอน ตั้งน้ำให้สัตว์ดื่มน้ำมากๆ ควรดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงให้สมบูรณ์แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท รวมทั้งผักและผลไม้ ให้สัตว์ได้ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอทุกวันหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงทำให้สัตว์เลี้ยงมีความเครียดและการสัมผัสอากาศที่เย็นมากๆ พยายามให้สัตว์เลี้ยงอยู่ห่างจากสัตว์ป่วยที่มีอาการไอ หรือไม่สบายทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เนื่องจากอาจรับเชื้อโรคจากสัตว์ดังกล่าวได้ครับ
ยาบรรเทาอาการไอ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1.ยาลดหรือระงับอาการไอ (cough suppressants or antitussives) อาจออกฤทธิ์ที่จุดรับสัญญาณการไอส่วนปลาย หรือออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางของสมองที่ควบคุมอาการไอ ยาชนิดนี้ควรเลือกใช้ในสัตว์ป่วยที่ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ (non-productive cough)
2.ยาขับเสมหะ (expectorants) ยาชนิดนี้จะกระตุ้นการขับเสมหะโดยกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ และเพิ่มปริมาณสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปริมาณเสมหะมากขึ้น ทำให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้นเช่น potassium guaiacolsulphonate, terpin hydrate, ammonium chloride, glyceryl guaiacolate ยาชนิดนี้ควรเลือกใช้ในสัตว์ป่วยที่ไอแบบมีเสมหะ (productive cough)
3.ยาละลายเสมหะ (mucolytics) ยาชนิดนี้จะช่วยลดความเหนียวของเสมหะลงทำให้ร่างกายกำจัดหรือขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น เช่น ambroxol hydrochloride, bromhexine, carbocysteine ยาชนิดนี้ควรเลือกใช้ในสัตว์ป่วยที่ไอแบบมีเสมหะ บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับยาขับเสมหะ
การรักษาอาการไอ
                การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุ ถ้าสัตว์ป่วยไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือล่าง เช่น หวัด หรือหลอดลมอักเสบ และมีอาการไอไม่มากนักอาจให้การรักษาเบื้องต้น เช่น ยาบรรเทาอาการไอไปก่อนได้ กรณีที่ไอมีเสมหะ เสมหะที่เหนียวข้นมาก จะถูกขับออกจากหลอดลมได้ยากโดยการไอ การให้ยาละลายเสมหะจะช่วยให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้นและบรรเทาอาการไอได้ แต่หากสัตว์ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ หากมีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรียเช่น เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว คุณหมออาจให้ยาต้านจุลชีพร่วมด้วย การที่สัตว์ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ครับ
รักษาไอให้ถูกวิธี
เมื่อเริ่มมีอาการไอ คนส่วนใหญ่มักรีบสรรหายาแก้ไอสารพัดยี่ห้อมากิน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว บางครั้งยังส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา ทางที่ดีที่สุดควรแก้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยดังนี้ค่ะ
                1.ควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยพยายามอยู่ในบริเวณที่มีอากาศไม่เย็น ไม่มีฝุ่นละออง
                2.อาการไอแบบมีเสมหะ จะเป็นการดึงมูกออกจากเนื้อเยื่อ ควรนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว หรือในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง เพื่อช่วยให้การหายใจคล่องขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยนอนราบตามปกติ
                3.ถ้ามีอาการไอแบบแห้ง จนไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ ควรใช้ยาสมุนไพรที่มีลักษณะข้น เพื่อเป็นการเคลือบคอ และบรรเทาอาการปวด
 บรรเทาอาการไอด้วยสมุนไพร
                ขิง รสหวานเผ็ดร้อนจะช่วยขับเสมหะ โดยนำเอาส่วนเหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและเติม เกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ หรือใช้ขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตกต้มกับน้ำให้เดือด จิบเวลาไอ
                ดีปลี รสเผ็ดร้อนมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ใช้ผลแก่ของดีปลีประมาณ 1/2-1 ผล ฝนกับน้ำมะนาว เติมเกลือนิดหน่อย กวาดลิ้นหรือจิบ บ่อยๆ
                เพกา เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีน ใช้ดื่มแก้ร้อนใน เมล็ดเพกามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับ เสมหะ โดยใช้เมล็ดเพกาประมาณ 1/2-1 กำมือ (หนัก 1.5-3 กรัม) ต้มกับน้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ตั้งไฟอ่อนๆ ต้มให้เดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 3 ครั้ง
                มะขามป้อม ผลสดของมะขามป้อม มีรสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณรักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ โดยใช้เนื้อผลแก่สด 2-3 ผล โขลกให้แหลก เหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง
                มะขาม รสเปรี้ยวของมะขาม สามารถกัดเสมหะให้ละลายได้ เมื่อมีอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ให้ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก                                      (ที่มีรสเปรี้ยว) จิ้มเกลือกินพอสมควร หรืออาจคั้นเป็นน้ำมะขามเหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้
                มะนาว รสเปรี้ยวของน้ำมะนาว มีสรรพคุณแก้อาการไอ และขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น และใส่เกลือเล็ก น้อยจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้มีรสจัด จิบบ่อยๆ ตลอดวัน หรือหั่นมะนาวขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จิ้มเกลือ นิดหน่อย ใช้อมบ้างเคี้ยวบ้าง
                มะแว้งเครือ รสขมของมะแว้ง มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และกัดเสมหะ โดยใช้ผลแก่สดประมาณ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ เกลือ จิบบ่อยๆ หรือจะใช้ผลสดเคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ จนกว่าอาการจะดีขึ้นก็ได้

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่มีประโยชน์ค่ะ ทำให้รู้ว่าวิธีการรักษาอาการไอ

    ตอบลบ
  2. เป็นแบบนี้เองหรอ ดีดีได้รู้จักวิธีการรักษาอาการไอ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีดีนะค่ะทำให้ได้รู้ข้อมูลกลไกลของการไอและวิธีการรักษา

    ตอบลบ